มอเตอร์ ไฟฟ้ากระแสตรงมีความสำคัญอย่างไร

มอเตอร์

Categories :

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่ามอเตอร์ไฟฟ้า จะเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานภายในบ้านเรือน หรือการใช้งานภายในโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีการใช้งานได้หลากหลากหลายเลยทีเดียว ซึ่งในท้องตลาดจะมีมอเตอร์ให้เลือกใช้งานได้หลากหลายประเภท การเลือกใช้งานมอเตอร์เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับการทำงาน รวมทั้งแรงดันไฟฟ้าเป็นหลัก สำหรับตัวมอเตอร์ในทุกตัว จะมีส่วนสำคัญประกอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ ขดลวดสนาม และขดลวดกระดองนั่นเอง อีกทั้งยังมีการแบ่งมอเตอร์ออกเป็น 2  รูปแบบ ได้แก่ มอเตอร์กระแสตรง และมอเตอร์กระแสสลับ แต่ในวันนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับมอเตอร์กระแสตรงกันเลยว่า มีลักษณะอย่างไรบ้าง 

ประเภทของ มอเตอร์ กระแสตรง มีอะไรบ้าง 

1. มอเตอร์แบบอนุกรม : หรือที่หลาย ๆ ท่านเรียกกันว่า ซีรีส์มอเตอร์ สำหรับมอเตอร์ประเภทนี้จะเป็นมอเตอร์แบบอนุกรม กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นมอเตอร์ที่ต่อกับขดลวดฟิลด์อนุกรมกับอาร์ เมเจอร์ของมอเตอร์ ซึ่งจะเรียกขดลวดประเภทนี้ว่า ซีรีส์ฟิลด์ ซึ่งตัวซีรีส์ฟิลด์จะเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา เพื่อทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของขดลวดอาร์เมเจอร์ โดยขดลวดฟิลด์จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ พันเอาไว้อยู่กับขั้วแม่เหล็กในจำนวนรอบไม่เยอะเท่าไหร่นัก เนื่องจากขดลวดประเภทนี้จะมีแรงต้านทานที่ค่อนข้างต่ำ 

2. มอเตอร์แบบอนุขนาน : หรือที่หลาย ๆ ท่านรู้จักกันใช่ชื่อ ชันท์มอเตอร์ โดยมอเตอร์ไฟฟ้าประเภทนี้จะเป็นมอเตอร์กระแสตรงแบบขนาน ซึ่งจะมีขดลวดฟิลด์ต่อแบบขนาดกับชุดขดลวดอาร์เมจอร์ ดังนั้นค่าความต้านทานของขดลวดฟิลด์จะมีค่าที่สูงเป็นอย่างมาก และจะต่อคร่อมเอาไว้โดยตรงกับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าภายนอก ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดฟิลด์มีค่าที่คงที่ โดยที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามรอบของการหมุนของมอเตอร์เหมือนกับกระแสไฟไหลผ่านนั่นเอง 

3. มอเตอร์แบบผสม : หรือที่เรียกว่า คอมเปปาวด์มอเตอร์ โดยมอเตอร์ประเภทนี้จะเป็นมอเตอร์กระแสตรงแบบผสม กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นมอเตอร์ที่มีขดลวดฟิลด์ 2 ชุด โดยชุดหนึ่งจะต่อที่อนุกรม และอีกชุดจะต่อขนานกับชุดขดลวดอาร์เมเจอร์นั่นเอง ในส่วนของแรงบิดเริ่มหมุนของมอเตอร์ประเภทนี้ จะมีแรงบิดมากกว่ามอเตอร์แบบขนาน แต่จะน้อยกว่ามอเตอร์แบบอนุกรม 

นับว่ามอเตอร์เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน ทั้งภายในบ้านเรือน และภายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมอเตอร์เหล่านี้จะมีหน้าที่ และมีประโยชน์ที่หลากหลายเลยทีเดียว เพียงแต่คุณจะต้องเลือกประเภทการใช้งานของมอเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เนื่องจากมอเตอร์จะมีกำลังที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป หากคุณไม่เลือกมอเตอร์ให้ดี อาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือลดประสิทธิภาพในการใช้งานได้นั่นเอง